สัญญาห้ามทำงานในลักษณะแข่งขันกับนายจ้าง!!
สัญญาที่ลูกจ้างตกลงกับนายจ้างว่าจะไม่ทำงาน หรือประกอบธุรกิจที่เป็นคู่แข่ง หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการนำความลับทางการค้า หรือข้อมูลสำคัญของบริษัท ไปใช้ในทางที่ก่อให้เกิดผลเสีย
 

ขอบเขตของสัญญา

✅ ประเภทของงานหรือธุรกิจ เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับข้อมุลทางธุรกิจ กลยุทธ์การตลาด ฯลฯ
✅ เขตพื้นที่ เช่น ห้ามทำงานกับบริษัทคู่แข่งในจังหวัดเดียวกัน หรือประเทศเดียวกัน
✅ ตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้อง เช่น งานที่มีการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของบริษัท
 

ระยะเวลา

✅ กำหนดระนยะเวลาที่สมเหตุสมผล เช่น 6 เดือน – 2 ปี หลังจากสิ้นสุดสัญญาจ้าง
✅ ระยะเวลาต้องไม่นานเกินไปจนเป็นการจำกัดสิทธิในการทำงานของลูกจ้าง
 

ข้อยกเว้น

✅ หากเงื่อนไขในสัญญาเข้มงวดจนเกินไป หรือขัดต่อหลักเป็นะรรม อาจถือว่าสัญญาไม่มีผลบังคับใช้
✅ ถ้าข้อจำกัดกว้างเกินไป เช่น ห้ามทำงานในทุกอุตสาหกรรม อาจถือเป็นการละเมิดเสรีภาพในการทำงาน
 

ผลทางกฎหมาย

✅ หากลูกจ้างละเมิดสัญญา นายจ้างสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้
✅ ศาลอาจพิจารณาให้สัญญา เป็นโมฆะบางส่วนหรือทั้งหมด หากเห็นว่าขัดต่อหลักเสรีภาพในการทำงาน
✅ หากสัญญามีผลบังคับใช้ ศาลอาจมีคำสั่งให้ลูกจ้างหยุดทำงาน กับคู่แข่งหรือชดใช้ค่าเสียหาย
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3580/2561

          ข้อตกลงตามหนังสือเป็นเพียงข้อจำกัดห้ามการประกอบอาชีพอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับนายจ้างโดยจำกัดประเภทธุรกิจไว้อย่างชัดเจน มิได้เป็นการห้ามประกอบอาชีพอันเป็นการปิดทางทำมาหาได้ของลูกจ้างอย่างเด็ดขาด ลักษณะข้อตกลงเช่นนี้ไม่ใช่การตัดการประกอบอาชีพของลูกจ้างทั้งหมด เพียงแต่เป็นการห้ามประกอบอาชีพบางอย่างที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับนายจ้างเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิประโยชน์ของคู่กรณีที่เป็นไปโดยชอบในเชิงของการประกอบธุรกิจ ไม่เป็นการปิดทางทำมาหาได้ของฝ่ายใดโดยเด็ดขาดจนไม่อาจดำรงอยู่ได้ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ

          แต่เมื่อคำนึงถึงทางได้เสียทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว การจำกัดสิทธิเป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่ลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน นับว่าทำให้ลูกจ้างผู้ถูกจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ จึงเห็นสมควรให้มีผลบังคับได้เพียง 1 ปี นับจากวันที่ลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 14/1 และพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 5

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายติดต่อเราได้ที่
📞 โทร : 062-652-4259 (ทนาย ดร.นิ้ง)
📱 LINE ID : @disavorabuthlaw
📩 สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้จาก
แสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับเรา

ด้วยประสบการณ์ด้านกฎหมายที่สั่งสมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เราคือผู้เชี่ยวชาญที่คุณวางใจได้ในทุกปัญหาทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ครอบคลุมสัญญาต่างๆ การฟ้องร้อง และการดำเนินคดี หรือกฎหมายแรงงาน ที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณหลีกเลี่ยงข้อพิพาท นอกจากนี้ เรายังเชี่ยวชาญใน กฎหมายครอบครัว กฎหมายมรดก กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายอาญา และกฎหมายอื่นๆ นอกจากนี้ เรายังให้บริการให้คำปรึกษากฎหมายและบริการจดทะเบียนที่ครอบคลุมครบวงจรทั้งในกรุงเทพฯ และนครราชสีมา

ที่อยู่

247/68 หมู่บ้านสัมมากร ซอย25/8 รามคำแหง112 แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร 10240

เบอร์โทรศัพท์

062-652-4259

E-mail

disavorabuth@gmail.com

เกี่ยวกับเรา

ด้วยประสบการณ์ด้านกฎหมายที่สั่งสมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เราคือผู้เชี่ยวชาญที่คุณวางใจได้ในทุกปัญหาทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ครอบคลุมสัญญาต่างๆ การฟ้องร้อง และการดำเนินคดี หรือกฎหมายแรงงาน ที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณหลีกเลี่ยงข้อพิพาท นอกจากนี้ เรายังเชี่ยวชาญใน กฎหมายครอบครัว กฎหมายมรดก กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายอาญา และกฎหมายอื่นๆ นอกจากนี้ เรายังให้บริการให้คำปรึกษากฎหมายและบริการจดทะเบียนที่ครอบคลุมครบวงจรทั้งในกรุงเทพฯ และนครราชสีมา

ที่อยู่

247/68 หมู่บ้านสัมมากร ซอย25/8 รามคำแหง112 แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร 10240

เบอร์โทรศัพท์

062-652-4259

E-mail

disavorabuth@gmail.com

©2025 Dr.Disavorabuth Law Office. All Rights Reserved.
สัญญาห้ามทำงานในลักษณะแข่งขันกับนายจ้าง!!